วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์

มะนิลา
      เป็นเมืองหลวงเมืองท่าและศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ เป็นเมืองหลวงเดิม มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตั้งอยู่ในที่กำบังลมริมอ่าวมะนิลา อุตสาหกรรมในเขตชานเมืองมะนิลา ได้แก่ โรงงานผลิตเบียร์ อาหารกระป๋อง มวนบุหรี่ สกัดน้ำมันจากพืช (มะพร้าว) ทอผ้า เครื่องอุปโภคบริโภค โรงงานประกอบรถยนต์ กลั่นน้ำมันและผลิตซิเมนต์ สินค้าออกสำคัญของประเทศส่งออกที่เมืองท่ามะนิลา นับว่าเป็นเมืองใหญ่และมีประชากรมากที่สุด


เซบู
      ตั้งอยู่บนเกาะเซบูเป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าระหว่างเกาะ เช่น มะพร้าวแห้ง และข้าว


ดาเวา
      เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเกาะมิดาเนาตั้งอยู่ริมฝั่งด้านใต้ของเกาะ เป็นรวบรวมสินค้าและมะพร้าวแห้งและป่านส่งต่อไปยังมะนิลาเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าออก


บาเกียว
     เป็นเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงมีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณอื่นๆโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 8 องศาเซลเซียสตลอดปี ด้วยอากาศเย็นสบายบาเกียจจึงเป็นสถานที่พะกผ่อนตากอากาศในช่วงหน้าร้อนที่นิยมของชาวต่างชาติและชาวฟิลิปปินส์เอง


ที่มา : http://61.47.41.107/w/content/100/


ทรัพยากรธรรมชาติประเทศฟิลิปปินส์



       ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ได้แก่ แร่ธาตุ ฟิลิปปินส์ผลิตทองแดง ได้มากที่สุดของทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังมีแร่เหล็ก แมงกานีส โครไมต์ ทองคำและนิเกิล ป่าไม้ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในเกินดาเนา ทรัพยากรประมง น่าน้ำรอบเกาะเป็นแหล่งการจับปลา ปลาหมึก กุ้ง หอย ตมสถิติปรากฏว่าฟิลิปปินส์จับปลาไม่ได้มากใกล้เคียงกับประเทศไทยทุกปี


ที่มา : http://asean-focus.com/

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์



                 วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่

     เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)
    
 จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)

เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
                    งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)




     เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

ที่มา: http://www.lampangvc.ac.th/




         

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศฟิลิปปินส์


ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา (Manila)


กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์

กรุงมะนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ (จากจำนวนมากกว่า 7,000 เกาะ) เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การศึกษา และการอุตสหากรรมของประเทศ ตัวเมืองของกรุงมะนิลามีเนื้อที่เพียง 39 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรมากถึง 1.7 ล้านคน แต่ถ้านับชานเมืองด้วยจะมีเนื้อที่ 1,475 ตารางกิโลเมตร แต่จะมีประชากรมากถึง 22 ล้านคน ซึ่งนับว่ามีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมาก ในสมัยการล่าอาณานิคม กรุงมะนิลาตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสเปนและอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศสหรัฐอเมริการวม 400 ปีเมืองหลวงอาเซียนทั้ง 10 เมือง เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของแต่ละประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า การลงทุน การเงินการธนาคารของประเทศนั้นๆ มีข้อสังเกตุอยู่ข้อหนึ่งคือในความจริงแล้วประเทศสิงค์โปร์นั้นไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นประเทศที่เล็กมาก จึงใช้ประเทศทั้งประเทศเป็นเมืองหลวงไปเลย ส่วนเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในอาเซียนคือกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัคว์ประจำชาติฟิลิปปินส์


สัตว์ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ควาย


                                            ควาย สัตว์ประจำชาติของฟิลิปปินส์ควาย (Water Buffalo) ในประเทศฟิลิปปินส์นั้น ถูกนำมาใช้แรงงานเหมือนในประเทศเวียดนาม ทั้งแรงงานในด้านการเกษตรกรรมและด้านการชักลากของหนัก ดังนั้นคนฟิลิปปินส์จึงมีความผูกพันกับควายมากเป็นพิเศษ และควายได้ถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ด้วยเหตุผลนี้เอง ควายเรียกตามภาษาพื้นเมืองหรือภาษาตากาล็อคว่าคาราบาว และชื่อนี้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อวงดนตรีชื่อดังของไทยและใช้รูปหัวควายเป็นสัญญลักษญ์ (หัวหน้าวงคือแอ๊ด คาราบาว จบการศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์)


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

ตราแผ่นดินประเทศฟิลิปปินส์

                                                          ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ 

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์  (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกาและพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483



ที่มา: https://th.wikipedia.org

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

สภาพอากาศประเทศฟิลิปปินส์

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ



แม้ฟิลิปปินส์จะประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ถึง 7,107 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่จริงเพียงประมาณ 2,000 เกาะเท่านั้น ที่เหลือเป็นเกาะภูเขาไฟและเกาะขนาดเล็ก ซึ่งบางแห่งจะจมอยู่ใต้ทะเลขณะที่น้ำขึ้นสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีเกาะที่ยังไม่ได้สำรวจและไม่มีชื่อเรียกอีกกว่า 2,500 เกาะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบแคบๆ ตามชายฝั่งทะเล การเดินทางระหว่างเกาะจึงใช้เครื่องบินเป็นหลัก
ด้วยสภาพทางธรณีวิทยาทำให้ฟิลิปปินส์มักประสบปัญหาแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ปะทุอยู่เนืองๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภูมิศาสตร์บ่อยครั้ง ปัจจุบันมีภูเขาไฟอย่างน้อย 22 ลูกยังคุกรุ่นพร้อมปะทุตลอดเวลา ภูเขาไฟสำคัญ ได้แก่ มายอน (Mayon) ใกล้เมืองลีกาสปี (Legaspi) ตาอัล (Taal) อยู่ทางใต้ของกรุงมะนิลา ปินาตูโบ (Pinatubo) ซึ่งระเบิดไปเมื่อ ปี 2534 และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเวลาต่อมา และ อาโป (Apo) ซึ่งเป็นยอดเขาสูงที่สุดในฟิลิปปินส์ โดยมีความสูงกว่า 2,954 เมตร อยู่บนเกาะมินดาเนา

ฟิลิปปินส์มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ทองแดง ทองคำ และโครเมียมมากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ส่วนสายแร่อื่นๆ ได้แก่ นิกเกิล เงิน ถ่านหิน ยิปซั่ม ทราย หินปูน หินอ่อน กำมะถัน ดินขาว และ ฟอสเฟต ด้วยชายฝั่งทะเลที่ยาวเกือบ 36,300 กิโลเมตร ท้องทะเลจึงอุดมไปด้วยหอยนานาพันธุ์กว่า 12,000 ชนิด ส่วนปลามีไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาเก๋า ปลาแมกเคอเรล ปลาราวด์เฮอร์ริง เป็นต้น รวมถึงกุ้งมังกร และกุ้งอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีนกมากกว่า 1,000 ชนิด กล้วยไม้ราว 800 ชนิด และพืชอื่นๆ อีกกว่า 8,500 ชนิด อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์กำลังเผชิญปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมมากขึ้นเป็นลำดับทั้งมลภาวะในดิน น้ำ และอากาศ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร รวมถึงการลดลงของพื้นที่เกษตรและป่าไม้ การบำบัดของเสียไม่เหมาะสม ความเสื่อมโทรมของปะการังและพื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นต้น
ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะ การปกครองแบ่งเป็น 17 เขต (Regions) 79 จังหวัด (Provinces) และ 117 เมือง (Cities) ดังนี้
1) ลูซอน (Luzon) เป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา มี 8 เขต
2) วิสายาส์ (Visayas) อยู่ทางตอนกลางของประเทศ มี 3 เขต
3) มินดาเนา (Mindanao) อยู่ทางตอนใต้ มี 6 เขต


ที่มา: http://www.boi.go.th/

สินค้าส่งออกประเทศฟิลิปปินส์


ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะ ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดบนเกาะลูซอน พืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด มันเทศ ผัก ผลไม้ ส่วนพืชที่ปลูกเพื่อการค้าและเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศคือ มะพร้าว นอกจากนี้ยังมีอ้อย สับปะรด ยาสูบ



สินค้าส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่

เนื้อมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว

น้ำตาล ผ้าพื้นเมือง

ไม้แกะสลัก

เครื่องเงิน

เครื่องปะดับต่างๆ

ป่านมนิลา

แร่โครไมต์


แร่โครไมต์ ส่วนใหญ่นำมาใช้ทำโลหะผสม ซึ่งจะทำให้เนื้อโลหะแข็งและเหนียวมากขึ้น ไม่เป็นสนิม และทนทานต่อความร้อน


สินค้านำเข้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่
เหล็ก
เครื่องจักร
ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง
สิ่งทอ


นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ การคมนาคมขนส่งที่สั่งจากสหรัฐอเมริกาแลพญี่ปุ่น
ประเทศคู่ค้าสำคัญของฟิลิปปินส์ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ไทย
ที่มา:http://www.dmc.tv/

     

การเงินประเทศฟิลิปปินส์

ภาคการเงิน
ระบบสถาบันการเงินในฟิลิปปินส์ อาจแบ่งออกได้ 3 กลุ่มหลัก คือ ธนาคาร สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารแต่ให้บริการคล้ายธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นๆ ทั้งนี้ ธนาคารชาติของฟิลิปปินส์คือ Bangko Sentral ng Pilipinas (BSP) กำกับดูแลใน 2 ส่วนแรก
ในส่วนของระบบธนาคาร มีการจำแนกย่อยตามลักษณะและขอบเขตการให้ บริการ ณ สิ้นมกราคม 2551 มีจำนวนธนาคารพาณิชย์ (Commercial Banks) 21 แห่ง สถาบันการเงินครบวงจร (Universal Banks) 17 แห่ง สถาบันรับฝากเงิน (Thrift Banks) 82 แห่ง Rural and Cooperative Banks 723 แห่ง เป็นต้น

แผนภาพที่ 2.2 โครงสร้างสถาบันการเงินในฟิลิปปินส์




ที่มา:http://www.boi.go.th/


ประชากรประเทศฟิลิปปินส์


ฟิลิปปินส์มีประชากรประมาณ 88.7 ล้านคน อยู่ในเขตเมืองหลวง 12 ล้านคน โครงสร้างประชากรประกอบด้วยชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ที่เรียกว่า "ชาวมาเลย์" ร้อยละ 95 รองลงมาคือ ชาวจีนและลูกครึ่งชาวจีน ประมาณร้อยละ 1 ลูกครึ่งอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ ลูกครึ่งสเปน และลูกครึ่งอเมริกัน อีกร้อยละ 1 ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 3 เป็นชาวเขาและชนกลุ่มน้อยกว่า 100 เผ่า และกว่าร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดอยู่ในวัยแรงงาน โดยร้อยละ 49.9 ของกำลังแรงงานอยู่ในภาคบริการ ร้อยละ 34.5 อยู่ในภาคเกษตรกรรม ที่เหลืออีกร้อยละ 15.6 อยู่ในภาค อุตสาหกรรม


ที่มา:http://www.boi.go.th/

เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์


ฟิลิปปินส์มีรายได้จากการค้าแรงงานในต่างแดนสูงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์มีทักษะทางภาษาอังกฤษและภาษาสเปน ทำให้เป็นข้อได้เปรียบแรงงานในประเทศอาเซียนอื่นๆ ประเทศที่ชาวฟิลิปปินส์นิยมไปทำงานคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ไปเป็นพยาบาล วิศวกร นักดนตรี และธุรกิจด้านบริการนอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังเป็นประเทศเกษตรกรรมเช่นกัน แต่เนื้อที่ที่ใช้เพาะปลูกมีอย่างจำกัด โดยมักจะทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ราบต่ำและ มีการปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า ฟิลิปปินส์ยังมีการส่งออกแร่สำคัญ หลายชนิด ได้แก่ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง และเงิน เป็นต้น


ที่มา: http://www.asean-info.com/

การเกษตรประเทศฟิลิปปินส์


เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า ป่าไม้ มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ

ไม้มะฮอกกานี เหมืองแร่ ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไม์ ทองแดง เงิน

อุตสาหกรรม ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์ ชาวฟิลิปปินส์ จำนวน 5.7 ล้านคน ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่บ้าน และจำนวน 1.2 ล้านคนเป็นสตรี และเป็นธุรกิจประเภทขายส่งและขายปลีก เสียส่วนใหญ่ (48.6%) ในภาคการผลิตมีแรงงานนอกระบบจำนวน 139,000 คน และมีสตรีที่อยู่ในภาคการผลิตนี้ถึง 55.3% ผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว มักจะทำร้านค้าขนาดเล็กหรือประกอบธุรกิจค้าขายอื่น ๆ ในขณะที่สตรีที่ทำงานกับครอบครัวมักจะทำงานในไร่นาหรือทำงานด้านเกษตรกรรม

ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร แต่สภาพภูมิประเทศ ที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน

ประชากรฟิลิปปินส ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา ประเทศเป็นส่วนใหญ่


ที่มา:http://th49.ilovetranslation.com/

อาหารประจำชาติประเทศฟิลิปปินส์



                     อโดโบ้ (Adobo)

เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจาก ภาคเหนือ
ของฟิลิปปินส์ และเป็นที่นิยมของนักเดินทางหรือ นักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมัก
และปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ใน
เตาอบ หรือ ทอด และรับประทานกับข้าว


ที่มา: https://sites.google.com



ชุดประจำชาติประเทศฟิลิปปินส์


ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใย
สัปปะรดมีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้น
จับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)


            บารอง ตากาล็อก - ประเทศฟิลิปินส์



               บาลินตาวัก - ประเทศฟิลิปินส์

ที่มา:https://sites.google.com
                         

ภาษาประจำชาติประเทศฟิลิปปินส์



ฟิลิปีโน (อังกฤษ: Filipino; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˌfɪlɪˈpiːnoʊ/) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปีโนเมื่อ พ.ศ. 2515


ที่มา:https://th.wikipedia.org

วัฒนธรรมประเทศฟิลิปปินส์


วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่ 



*เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)

จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)



*เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)



*เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

ที่มา:http://www.lampangvc.ac.th/

ระบอบการปกครองประเทศฟิลิปปินส์


การเมืองการปกครอง


ฟิลิปปินส์ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูปแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 1 วาระ วุฒิสภามีสมาชิก 24 คน มาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ (nationwide – elected) มีวาระ 6 ปี และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่ง (12 คน) ทุก 3 ปี
ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต (region) 80 จังหวัด (province) และ 120 เมือง (city) โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น 1,499 เทศบาล (municipality) และ 41,969 บารังไก (barangay) ซึ่งเทียบเท่าตำบลหรือหมู่บ้าน
ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม 17,996ตำแหน่งในคราวเดียวกัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 50.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประมาณ 38 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75 ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด โดยนายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม (Benigno S. Aquino III) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรค Liberal (LP) และนายเจโจมาร์ บิไน (Jejomar Binay)อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมากาติ (Makati) ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี
รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี อาคีโน ที่สาม มุ่งให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสถานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านงบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDG) ภายในปี 2558


ที่มา:https://sites.google.com